การเคลือบนาโน เราได้ยินคำนี้กันจนคุ้นหู วัสดุต่างๆ มักมีการเคลือบนาโน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติกันสนิม ป้องกันการกระแทกและยังทำให้เกิดความสวยงามที่พื้นผิว การเคลือบนาโน หรือ Nano Coating คืออะไร การเคลือบนาโนมีกี่ชั้นและแต่ละชั้นทำหน้าที่อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบ เพื่อให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกับการเคลือบนาโนให้มากขึ้น

เคลือบนาโน คืออะไร

การเคลือบนาโน อนุภาคสารประกอบโลหะซึ่งเกิดจากการสร้างแผ่นฟิล์มน้ำมันระหว่างโลหะกับโลหะ จะแทรกตัวเติมรอยหยาบ หรือรอยแตกของผิวโลหะและซ่อมแซมผิวของโลหะทำให้เกิดผิวของสารประกอบขึ้นมาใหม่ที่เรียบมาก จากเดิมการเสียดสีจะเกิดจากผิวคู่สัมผัสระหว่างโลหะ กับ โลหะ เปลี่ยนกลายเป็นคู่สัมผัสใหม่ สารประกอบโลหะ กับ สารประกอบโลหะแทนที่ ซึ่งทำให้เกิดแรงเสียดทานต่ำตามหลักไทรโบโลยี การเคลือบนาโนมีข้อดีอย่างมาก ทำให้ไม่มีสารเคมีตกค้างในอากาศ เป็นการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม การเคลือบนาโนในแต่ละชั้นมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

การเคลือบนาโนมีกี่ชั้น แต่ละชั้นทำหน้าที่อย่างไร

การเคลือบนาโนชั้นที่ 1

การเคลือบนาโนชั้นที่ 1 ทำหน้าที่ช่วยป้องกันการเกิดสนิม ชั้นนี้จะอยู่ติดกันเนื้อของเหล็กตัวถังจะเป็นสารฟอสเฟตประเภท Zinc Phosphate นอกจากการเคลือบนาโนในชั้นนี้จะช่วยป้องกันการเกิดสนิมแล้ว ยังเป็นรองพื้นให้กับสีในชั้นต่อๆ ไปได้อรกด้วย การเคลือบนาโนในชั้นที่ 1 มักใช้เทคนิคกระแสไฟฟ้าสถิต โดยมีความหนาประมาณ 20 ไมโครเมตร

การเคลือบนาโนชั้นที่ 2

การเคลือบนาโนในชั้นที่สอง ทำหน้าที่ป้องกันการกระแทก ของก้อนหินหรือวัสดุต่างๆ ที่อาจกระเด็นมาโดน ทำให้พื้นผิวของวัสดุได้รับความเสียหาย การเคลือบนาโนในชั้นที่สองนอกจากป้องกันการกระแทกได้แล้วยังทำให้พื้นผิวของวัสดุมีความเรียบเพิ่มมากขึ้นด้วย การเคลือบนาโนในชั้นที่สอง ถูกเรียกว่า Filler มีส่วนผสมของสารละลายอินทรีย์ การเคลือบนาโนในชั้นที่สองมีความหนาประมาณ 25 ไมโครเมตร

การเคลือบนาโนชั้นที่ 3

การเคลือบนาโนในชั้นที่สาม เป็นชั้นสีของเม็ดสีตามที่เราต้องการ หากเลือกเป็นแบบประกาย Metallic จะต้องผสมผงอะลูมิเนียมลงไปด้วย จะทำให้เนื้อสีมีความเปล่งประกายขึ้นมา

การเคลือบนาโนในชั้นที่ 4

การเคลือบนาโนในชั้นนี้เป็นชั้นสุดท้าย จะมีการเคลือบด้วยสารละลายใสคล้ายกับแล็กเกอร์ โดยมีความหนาประมาณ 40 ไมโครเมตร จะทำให้เกิดความสวยงาม มีความมันเงา แวววาว สามารถป้องกันสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปได้ และยังทนต่อความร้อน ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *